คำแนะนำผู้ปฏิบัติธรรมในการสอบอารมณ์
โดย...พระกัมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ
ยังมีผู้ปฏิบัติธรรมจำนวนมากที่ได้รับคำสอนเกี่ยวกับวิธีการเจริญภาวนามาพอสมควรแล้วแต่ไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์และไม่สามารถรายงานประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมต่อครูบาอาจารย์ได้อย่างถูกต้อง ผู้ปฏิบัติธรรมบางคนปฏิบัติได้ดีแต่ไม่สามารถบรรยายวิธีการเจริญกรรมฐานของตนและประสบการณ์ที่ตนเองได้รับได้ตามที่ควรจะเป็น บทบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้โยคีหรือผู้เจริญภาวนาเหล่านี้สามารถรายงานผลการปฏิบัติของตนอย่างถูกต้องว่าการเจริญภาวนาของโยคีนั้นดำเนินไปอย่างไร โยคีกำหนดรู้อะไรและโยคีมีประสบการณ์อะไรในระหว่างการบำเพ็ญภาวนา
ท่านอาคารย์มหาสีสยาด่อได้เคยกล่าวถึงเหลักการเจริญกรรมฐานในการปฐมนิเทศให้แก่โยคีผู้ปฏิบัติใหม่ โดยเริ่มจากการเฝ้าติดตามรู้อารมณ์หลักในการเจริญสติปัฎฐานได้แก่ความรู้สึกที่ท้องขณะที่ท้องพองและยุบเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมหายใจเข้าออก
พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่าสภาพธรรมทางกายและทางจิตนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทางอายตนะทั้งหกของผู้ปฏิบัติธรรม เมื่อสภาพธรรมการเห็นเกิดขึ้น ตาที่ทำหน้าที่รับกระทบและภาพที่ถูกเห็นก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นรูป ในขณะที่การระลึกรู้ทางตาหรือการเห็นนั้นเป็นสภาพธรรมทางจิต ในทำนองเดียวกันกับการได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสทางกายและใจ ตลอดจนอิริยาบถย่อยต่าง ๆ เช่น การคู้ และการเหยียดแขน การหัน หรือการเอนเอียงร่างกายและการก้าวเดิน ท่านอาจารย์มหาสีสยาด่อได้สั่งสอนไว้ให้ผู้ปฏิบัติกำหนดรู้สภาพธรรมเหล่านี้อย่างใกล้ชิดแนบแน่น ในขณะที่สภาพธรรมนี้เกิดขึ้นโดยไม่ยกเว้นแม้เศษเสี้ยวของอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ
แม้ว่าคำสอนของท่านอาจารย์มหาสีสยาด่อจะมีความชัดเจนมากและเป็นภาษาว่าย ๆ แต่ผู้ปฏิบัติก็มักจะประสบกับความยุ่งยากเมื่อนำคำสอนนั้นมาปฏิบัติจริง เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเอาชนะความยุ่งยากเหล่านี้ วิปัสสนาจารย์ ณ สำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ มักจะต้องอธิบายและแสดงวิธีการให้ผู้ปฏิบัติใหม่เข้าใจว่า จะต้องกำหนดอารมณ์หลักอย่างไร จะทำอย่างไรเมื่ออารมย์รองอื่น ๆ เช่นคามคิดนึกตรึกตรองเกิดขึ้นหรือเมื่อความรู้สึกใด ๆ เกิดขึ้น หรือเมื่ออารมณ์จากภายนอกเช่น รูป และเสียงเข้ามากระทบใจหรือเมื่อการกระทำอื่นใดเกิดขึ้น
คำอธิบายเหล่านี้จำเป็นต้องกล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีก และกล่าวเป็นภาษาที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นได้สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ แม้กระนั้นก็ตามผู้เริ่มต้นปฏิบัติบางคนก็ยังไม่เข้าใจดีนัก และไม่อาจปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง เพื่อแก้ไขความยกลำบากเหล่านี้ วิปัสสนาจารย์จึงได้รจนาข้อควรจำหรือหลักปฏิบัติที่ช่วยให้จดจำได้ง่ายขึ้น